เมื่อวันที่ 20 - 21 ตุลาคม 2560 ผมมีโอกาสได้เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง
การส่งเสริมและพัฒนาทักษะสมอง EF ในเด็กปฐมวัย พี้นที่ขยายผลองค์ความรู้ทักษะสมอง EF จังหวัดสงขลา
จัดโดยศูนย์พัฒนาครอบครัวจังหวัดสงขลา ณ โรงแรมเมอร์ลิน เเกรนด์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ผู้เข้าร่วมเป็นครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสงขลา
ครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
ครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.) และผู้ที่ทำงานด้านเด็กและเยาวชนในจังหวัดสงขลา โดยได้วิทยากรระดับประเทศอย่าง ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร หรือครูหม่อม
ผู้ที่ได้รับการยอมรับในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาทักษะสมอง EF ในเด็กปฐมวัยและการสร้างวินัยเชิงบวก
ผมทราบและสนใจเรื่องทักษะสมอง
EF มาตั้งแต่ปีที่แล้ว จากการดูคลิปวีดีโอในยูทูบ ชื่อ The Marshmallow Test ซึ่งเป็นการทดสอบทางจิตวิทยาของเด็กเล็ก โดยใช้วิธีการให้ขนมมาชเมลโล่วางใส่ในจานให้กับเด็ก
แล้วทำข้อตกลงกับเด็กว่า หากสามารถอดทนโดยการไม่ทานก่อนและรอจนกระทั่งผู้คุมการทดสอบกลับมาในห้องอีกครั้งได้
ก็จะได้ขนมเพิ่มอีกชิ้นหนึ่ง รวมเป็นสองชิ้น แต่ถ้าหากไม่สามารถอดทนรอได้ก็สามารถกดปุ่มเรียกผู้คุมเข้ามาในห้องได้ทันที
หรือถ้ารอไม่ได้แล้วจริง ๆ ก็สามารถกินขนมชิ้นนั้น แต่จะได้ขนมแค่ชิ้นเดียว
ภายหลังนักวิจัยได้ติดตามผล
พบว่า เด็กที่สามารถอดทนและ "รอ" ได้ เมื่อโตขึ้นจะมีผลการเรียนที่ดีกว่า
มีปัญหาสุขภาพน้อยกว่า และมีปัญหาครอบครัวและปัญหาการเงินน้อยกว่าด้วย
สิ่งสำคัญไม่ใช่แค่การ "นั่งรอ" แต่เป็นความสามารถในการ "ใช้งานทักษะ” ที่ถูกเรียกว่า ทักษะสมอง EF
สิ่งสำคัญไม่ใช่แค่การ "นั่งรอ" แต่เป็นความสามารถในการ "ใช้งานทักษะ” ที่ถูกเรียกว่า ทักษะสมอง EF
ทักษะสมอง
EF
(Executive Functions) คือ ชุดกระบวนการคิด ที่ทำงานในสมองส่วนหน้า
ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมต่อข้อมูลจากประสบการณ์ในอดีตเข้ากับปัจจุบัน
ทำให้รู้สึกยั้งคิดยั้งใจ ชะลอความอยาก กำกับพฤติกรรมและอารมณ์ของเราได้
ช่วยปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป สามารถตัดสินใจ แก้ปัญหา และวางแผนบริหารจัดการงานต่าง
ๆ ให้สำเร็จลุล่วง
ทักษะสมอง
EF ประกอบด้วย 9 ด้าน ได้แก่
•
ทักษะการจำเพื่อใช้งาน (Working
Memory)
•
ทักษะยั้งคิดไตร่ตรอง (Inhibition)
•
ทักษะยืดหยุ่นความคิด (Shift/Cognitive Flexibility)
•
ทักษะควบคุมอารมณ์ (Emotional Control)
•
ทักษะจดจ่อใจใส่ (Focus/Attention)
•
ทักษะติดตามประเมินตนเอง (Self-Monitoring)
•
ทักษะริเริ่มและลงมือทำ (Initialing)
•
ทักษะวางแผนและจัดระเบียบดำเนินการ (Planning and Organizing)
•
ทักษะมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence)
เราทุกคนมีศักยภาพที่จะพัฒนาทักษะสมอง
EF แต่สิ่งสำคัญคือ แม้วัยผู้ใหญ่จะยังพอฝึกฝนทักษะเหล่านี้ได้ แต่จะไม่ได้ผลดีเท่ากับฝึกเมื่อตอนเป็นเด็กปฐมวัย
ดังนั้น โอกาสทองของการพัฒนาทักษะสมอง EF คือ ช่วงปฐมวัย เนื่องจากสมองส่วนหน้าและทักษะสมอง EF มีการพัฒนาต่อเนื่องยาวนานตั้งแต่เกิดไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น แต่ช่วงวัย
3-6 ปีนั้น มีงานวิจัยที่ชี้ว่า
ประสบการณ์ในช่วงปฐมวัยเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่จะสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งให้แก่ทักษะสมอง
EF หรือเรียกได้ว่า ช่วงปฐมวัยเป็น
“หน้าต่างแห่งโอกาส”บานสำคัญยิ่งของการพัฒนา EF
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น